แพคเกจจิ้งที่ยั่งยืน: ทำไมกระดาษห่อกันกระแทกถึงกำลังมาแทนที่แอร์บับเบิ้ล

      ไม่ว่าจะเป็นการย้ายบ้านหรือสั่งซื้อของออนไลน์ เรามักจะหนีไม่พ้นที่จะต้องพบเจอกับบับเบิ้ลห่อกันกระแทกภายในกล่อง แม้ว่าการบีบเม็ดบับเบิ้ลเล่นจะเพลินดีแต่รู้หรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะทดแทนการใช้พลาสติกบับเบิ้ลเหล่านี้เพื่อลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังโตไปพร้อมกับโลกการค้าออนไลน์

      โชคดีที่ทางเลือกทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นมีให้เลือกใช้อยู่ในท้องตลาดเหมือนกัน นั่นก็คือกระดาษรังผึ้ง (honeycomb paper) ที่มีคุณสมบัติกันกระแทกได้เหมือนบับเบิ้ลพร้อมทั้งยังสามารถรีไซเคิลได้ 100%

แล้วสินค้าประเภทไหนที่จำเป็นต้องห่อกันกระแทก?

เหตุผลที่เราห่อสินค้านั้นมีหลากหลาย

      – ป้องกันรอยขีดข่วนบนพื้นผิวสินค้า
      – ป้องกันการกระแทกกันภายในกล่อง
      – สร้างความประทับใจแก่ผู้รับเมื่อเปิดกล่อง

      ความแตกต่างระหว่างการห่อกันกระแทกสินค้ากับการเติมเต็มพื้นที่ว่างภายในกล่องเพื่อกันกระแทกนั้นอยู่ตรงที่การห่อกันกระแทกจะช่วยปกป้องพื้นผิวสินค้าได้ดีกว่า การเติมเต็มพื้นที่ว่างเหมาะสำหรับการล็อคสินค้าไม่ให้เคลื่อนที่ภายในกล่องและช่วยรับแรงกระแทก ดังนั้นหากเราต้องการปกป้องพื้นผิวสัมผัสของสินค้าจากรอยขีดข่วนก็สามารถใช้กระดาษห่อกันกระแทกควบคู่ไปด้วยได้

สินค้าที่เปราะบางหลายอย่างมักจะมีมูลค่าสูง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การห่อกันกระแทกเป็นสิ่งจำเป็น อย่างเช่น

      – สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
      – เซรามิก เครื่องแก้ว
      – ของสะสม สินค้าทำมือ

แล้วทำไมถึงต้องเปลี่ยนจากการใช้บับเบิ้ลกระแทกมาใช้แพคเกจจิ้งกระดาษล่ะ?

      เป็นที่แน่นอนว่าหากจะแพ็คสินค้าซักอย่าง ผู้คนมักจะนึกถึงแอร์บับเบิ้ลเพื่อนำมาใช้ห่อกันกระแทกเป็นอย่างแรก แต่หากเป็นอย่างนี้ต่อไปในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่เราจะพบความจริงที่ว่าในมหาสมุทรจะมีขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาที่แหวกว่ายอยู่ในนั้น (ตามที่บทความของ World Economic Forum )

น่าแปลกที่บับเบิ้ลกันกระแทกก็สามารถสร้างความเสียหายต่อสินค้าได้เหมือนกัน

      หากเราห่อสินค้าด้วยแอร์บับเบิ้ลเป็นเวลานานๆ ลวดลายปุ่มๆ ของบับเบิ้ลสามารถทิ้งลอยไว้บนพื้นผิวของสินค้าที่สัมผัสกับบับเบิ้ลได้ เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีของพลาสติกที่จะมีสารบางตัวผันตัวทำหน้าที่เหมือนตัวทำละลายเมื่อสัมผัสกับโลหะ สี และสารเคลือบเงา ส่งผลให้เกิดโอกาสที่จะมีรอยบนพื้นผิว

ม้วนบับเบิ้ลนั้นช่างพองโตต่างจากกระดาษที่เรียบและประหยัดพื้นที่

      หากไม่มีเม็ดลม แอร์บับเบิ้ลก็เป็นเพียงแผ่นพลาสติกบางๆ เม็ดลมเล็กๆ ที่ถูกเติมเข้ามาในกระบวนการผลิตส่งผลให้ม้วนบับเบิ้ลนั้นพองใหญ่ ถึงแม้จะมีน้ำหนักเบาแต่ก็กินพื้นที่ในการจัดเก็บหรือขนส่งพอสมควร
      สิ่งนี้จึงแตกต่างจากม้วนกระดาษรังผึ้งที่ตัวรังผึ้งจะขยายก็เมื่อถูกยืดออกตอนใช้งาน ดังนั้นก่อนใช้งานม้วนกระดาษจะมีขนาดไม่ใหญ่ส่งผลให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ 1 พาเลทของกระดาษรังผึ้งเทียบเท่ากับ 9.8 พาเลทของม้วนบับเบิ้ลเลยทีเดียว (1 ม้วนกระดาษรังผึ้งเมื่อยืดแล้วยาว 420 ม. ม้วนบับเบิ้ลโดยปกติยาว 100 ม. ดังนั้น 1 ม้วนกระดาษรังผึ้งยาวเท่ากับ 4.2 ม้วนบับเบิ้ล)

กระดาษรังผึ้งไม่จำเป็นต้องใช้กรรไกร คัตเตอร์ หรือเทปกาว

    โครงสร้างตาข่ายคล้ายรังผึ้งของตัวกระดาษช่วยให้เวลานำมาห่อสินค้าตัวกระดาษจะยึดเกาะกันทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เทปกาวในการช่วยแพ็ค อีกทั้งยังสามารถใช้มือในการฉีกกระดาษได้เลยไม่จำเป็นต้องใช้กรรไกรตัด ดังนั้นจึงปลอดภัยกว่าและที่สำคัญประหยัดเวลามากกว่าใช้แอร์บับเบิ้ล

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *