ตัวอย่างการใช้งานแพ็คเกจจิ้งกระดาษ : Sia Huat

Sia Huat คือ ผู้จำหน่ายสินค้าอุปกรณ์ทำอาหารชั้นนำของประเทศสิงคโปร์ โดยมีร้านจำหน่ายอยู่ 3 แห่ง (สองแห่งภายใต้แบรนด์ ToTT) นอกจากนั้นยังมีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตรวมไปถึงในช่องทางออนไลน์ ลูกค้าหลักส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจงานบริการ ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม คาเฟ่และร้านอาหาร รายล้อมด้วยทีมงานกว่า 100 ชีวิตปฏิบัติงานรองรับการจำหน่ายสินค้าภายใต้คลังสินค้ากว่า 9,200 ตร.ม.

เป้าหมายหลัก

ลดต้นทุนและอัตราความเสียหาย

Sia Huat มีเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการแพ็คสินค้าอยู่ 3 หัวข้อ : ต้นทุนการแพ็ค, ระยะเวลาในการแพ็ค, และขนาดของแพ็คสินค้า เนื่องด้วยทางร้านจำหน่ายสินค้าเครื่องครัวหลากหลายประเภท หลากหลายขนาด อีกทั้งยังผลิตจากวัสดุต่างๆ กัน เช่น แก้ว เซรามิก พลาสติกและเหล็ก นั่นหมายถึงสินค้าที่หลากหลายรูปแบบนี้จะต้องถูกแพ็คอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อการเสียหาย ความปลอดภัยของสินค้าไม่ให้แตกหักระหว่างการจัดส่งก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะอาจส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากต้องส่งสินค้าทดแทน รวมไปจนถึงโอกาสในการสูญเสียยอดขาย

ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง

หนึ่งในหัวข้อที่ทาง Sia Huat เน้นย้ำให้เป็นความรับผิดชอบของบริษัทคือการสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในทุกกระบวนการทำงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่คนให้ความสำคัญมากขึ้นและการใช้แพคเกจจิ้งกระดาษ Ranpak ช่วยให้ Sia Huat ลดการใช้พลาสติกในการแพ็คสินค้าเป็นการแสดงออกถึงความต้องการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด

แพคเกจจิ้งกระดาษที่ใช้

หลังจากตกผลึก ทาง Ranpak ได้แนะนำกระดาษรังผึ้ง (Geami) สำหรับกันกระแทกโดยใช้งานเป็นเครื่องไฟฟ้า ลักษณะตาข่าย 3 มิติของกระดาษรังผึ้งจะช่วยปกป้องสินค้าที่บอบบางแตกหักได้ง่าย รวมถึงกระดาษกันกระแทก (PadPak) และกระดาษเติมเต็ม (FillPak) เพื่อใช้เพิ่มเติมในการลดอัตราการแตกหักเสียหาย ด้วยตัวช่วยในการแพ็คจาก Ranpak เหล่านี้ทำให้ Sia Huat สามารถแพ็คสินค้าหลากหลายรูปแบบลงในกล่องเดียวกันได้อย่างปลอดภัย

ผลตอบรับทางธุรกิจ

ช่วยลดต้นทุน

ในเวลาเท่าเดิมพนักงานหนึ่งคนสามารถแพ็คสินค้าได้จำนวนมากขึ้น จากประมาณ 18 ออเดอร์/ชั่วโมง เพิ่มเป็น 21 ออเดอร์/ชั่วโมง ซึ่งเป็นการพัฒนา Productivity ให้กับการทำงาน หากพิจารณาจากจำนวนออเดอร์ 150 ออเดอร์/วัน สามารถประหยัดเวลาในการทำงานไปได้ถึง 1.2 ชั่วโมงต่อพนักงานหนึ่งคน และถ้านำจำนวนชั่วโมงที่ประหยัดได้มาคำนวณเป็นตัวเงินแล้ว ที่อัตราค่าแรงชั่วโมงละ 14 ดอลล่าร์สิงคโปร์ นั่นเท่ากับว่าใน 1 ปีทางบริษัทสามารถประหยัดเงินประมาณ 4,233.60 ดอลล่าร์สิงคโปร์ในทุกๆ พนักงานแพ็คหนึ่งคนเลยทีเดียว

การป้องกันที่ดียิ่งขึ้น

สินค้าที่ถูกตีคืนจะถูกพิจารณาใน 2 ประเภท: สภาพยังดีสามารถนำกลับไปขายได้ กับ เสียหายจนต้องตัดจำหน่ายจากระบบ (Write-off) หลังจากใช้แพคเกจจิ้งกระดาษ อัตราสินค้าที่เสียหายจนถึงขั้นต้องตัดจำหน่าย (Write-off) คิดเป็นมูลค่าลดลงประมาณ 2,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์/เดือน

วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมา Sia Huat ใช้พลาสติกกันกระแทกประเภทแอร์บับเบิ้ลและเทปกาวในการแพ็คสินค้าเป็นจำนวนมาก พลาสติกเหล่านั้นถูกทำทดแทนด้วยการเปลี่ยนมาใช้แพคเกจจิ้งกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมด รวมไปจนถึงในช่อง e-commerce ด้วยเช่นกัน

แหล่งที่มา : https://www.ranpak.com/case-studies/sia-huat/

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *