ทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน : ระหว่าง Polyurethane foam (พียูโฟม) และ PadPak (กระดาษกันกระแทก)

      เป็นเวลากว่า 60 ปีแล้วที่ Polyurethane foam (โพลียูรีเทนโฟม) หรือที่เราเรียกกัน “พียูโฟม” “โฟมฉีด” “โฟมกันกระแทก” “Foam in place” ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการป้องกันสินค้าในการขนส่ง แต่ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมาความนิยมในการใช้งานโฟมชนิดนี้เริ่มมีแนวโน้มลดลงเป็นผลพวงมาจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม นำไปสู่ทางเลือกทดแทนนั่นก็คือวัสดุที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีอย่างเช่น “กระดาษ” แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ “กระดาษ” ไม่ได้เป็นเพียงแค่ “กระดาษอย่างที่เราคิด” อีกต่อไป

use-padpak

      ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อม 78% ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาคาดหวังว่าหลายแบรนด์สินค้าจะหันมาใช้กระดาษในการแพ็คส่งสินค้าแทนการใช้พลาสติก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ในโลก พียูโฟมนั้นเป็นสารประกอบทางเคมีที่ถูกจัดประเภทที่ 1 มีความรุนแรงสูงสุดเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง รวมไปถึงเป็นสารที่มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็งได้

      นอกจากนั้น การเปลี่ยนมาใช้กระดาษแทนพลาสติกก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีเนื่องจากกระดาษนั้นสามารถรีไซเคิลได้และผลิตจากวัสดุที่มีความยั่งยืน 100% ในทางกลับกันขยะพลาสติกถือเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อ้างอิงจาก National Geographic ในทุกๆ ปีมีพลาสติกถูกผลิตขึ้นมาประมาณ 400 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 40% หรือ 160 ล้านตันถูกนำไปใช้ในการแพ็คกิ้ง อย่างพียูโฟมซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์จากพลาสติกเช่นกันที่ถูกสร้างมาเพื่อการใช้งานเพียงครั้งเดียว และนำไปรีไซเคิลได้ยากมากเมื่อเทียบกันกับกระดาษ ท้ายที่สุดผลิตภัณฑ์โฟมและพลาสติกเหล่านี้ก็ลงเอยด้วยการถูกฝังกลบเพื่อทำลาย ซึ่งใช้เวลาเป็นร้อยปีเพื่อที่จะย่อยสลายพวกมันไปตามธรรมชาติ

use-padpak2

3 คุณสมบัติที่ทำให้กระดาษกันกระแทกได้เหนือกว่าพียูโฟม

การที่จะตัดสินว่าวัสดุชนิดใดจะสามารถกันกระแทกได้ดีกว่ากัน วัสดุนั้นต้องผ่านคุณสมบัติสามประการนี้

อย่างแรก มันต้องปกป้องสินค้าภายในกล่องได้อย่างเหมาะสม ทางทีมวิศวกรจะวัดระดับการป้องกันสินค้าโดยการบันทึกค่า G force ของสิ่งของที่บรรจุในกล่องพร้อมวัสดุกันกระแทกชนิดต่างๆ เมื่อทำการโยนกล่องลงกระแทกพื้น ค่า G force เทียบเท่ากับแรงกดที่สิ่งของจะได้รับหลังจากที่กล่องกระแทกพื้น ยิ่งสิ่งของมีน้ำหนักเยอะก็จะยิ่งเร่งให้ค่า G force สูงขึ้นเมื่อตกกระแทกพื้น หากไม่ป้องกันกระแทกให้ดีอาจนำไปสู่การแตกหักหรือเป็นรอยได้

อย่างที่สอง ต้องสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและวัดจำนวนการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเหมาะสมของปริมาณในการใช้เพื่อป้องกันสินค้าขึ้นอยู่กับน้ำหนักและความเปราะบางของสินค้านั้นๆ เมื่อสามารถหาปริมาณที่เหมาะสมได้แล้วทางวิศวกรก็จะสามารถคำนวณเพื่อออกแบบการกันกระแทกที่นอกจากจะมีประสิทธิภาพแล้วยังมีต้นทุนที่ถูกที่สุดได้อีกด้วย

สุดท้าย ต้องสามารถนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเวลาเป็นปัจจัยสำคัญในธุรกิจ หลายคนมักจะคิดว่าโฟมเป็นทางเลือกที่ไวที่สุดที่จะเติมเต็มกล่องเพื่อกันกระแทกสินค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วโฟมแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน ทาง Ranpak จึงออกแบบกระดาษ PadPak มาเพื่อใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว ด้วยระบบการขึ้นรูปกระดาษที่จะพับและเย็บกระดาษเพียงแค่ใช้ปลายนิ้วสั่งงาน ในขณะที่พียูโฟมต้องอาศัยการผสมสารเคมีในปริมาณที่กำหนดเพื่อที่จะขยายตัวได้ตามที่ต้องการ 

โดยทาง Ranpak ได้ทำการทดลองและทดสอบการกันกระแทกของกระดาษ PadPak กับสิ่งของหลากหลายชนิด เราจึงมั่นใจในการป้องกันว่าสามารถทดแทนพียูโฟมได้อย่างแน่นอน

กรณีตัวอย่าง: Aerodynamic Electronics

Ranpak เคยทดสอบการป้องกันกับสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการบิน โดยทดสอบกับสินค้าที่มีน้ำหนัก 10 กก. โดยหล่นจากความสูงประมาณ 80 ซม.

ผลการทดสอบ

  • ค่า G force ต่อสินค้าที่กันกระแทกโดย PadPak อยู่ที่ 16.6 ในขณะที่พียูโฟมมีค่า G force ที่ 39 จึงจะเห็นได้ว่า PadPak สามารถลดแรง G force ได้ถึง 58% เมื่อเทียบกับพียูโฟม
  • การใช้ขนาดที่เท่ากันของแผ่นกระดาษขึ้นรูป PadPak ทำให้ความเร็วในการแพ็คสินค้าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับพียูโฟมที่ต้องคอยผสมสารเคมีเพื่อใช้งาน
  • ท้ายที่สุด การใช้ PadPak สามารถลดต้นทุนต่อกล่องได้สูงถึง 57% เมื่อเทียบกับพียูโฟม
padpakreduce-gforce

กรณีตัวอย่าง: ไฟหน้ารถยนต์และปั๊มเทอร์โบ

ในกรณีนี้ Ranpak ได้ทดสอบกับไฟหน้ารถยนต์ขนาดต่างๆ และปั๊มเทอร์โบหลายชนิด

ผลการทดสอบ

  • ในการแพ็คทุกขนาดของไฟหน้า PadPak สามารถทำความเร็วได้ดีกว่า
  • PadPak สามารถลดค่า G force ได้ดีกว่าพียูโฟมถึง 44% ในการทดสอบกับไฟหน้ารถยนต์
  • ต้นทุนโดยรวมในการแพ็คต่อกล่องลดลงถึง 73%
padpakreduce-boxcost

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *