ESG คืออะไร? แล้วสำคัญอย่างไรกับแพคเกจจิ้ง

ESG ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล)

ทุกวันนี้นักลงทุนเริ่มหันมาสนใจผลการดำเนินงานเกี่ยวกับ ESG ขององค์กรมากขึ้นในการพิจารณาการลงทุน เพิ่มเติมจากแต่ก่อนที่มองแต่ศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้บริษัทที่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างโปร่งใส และมีการพัฒนาในด้าน ESG จึงน่าดึงดูดใจนักลงทุนมากกว่า

Environment (สิ่งแวดล้อม)

ESG Blog - Environment

ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมจะมุ่งเน้นไปที่ความพยายามของบริษัทในการที่จะลดผลกระทบเชิงลบต่อธรรมชาติของเรา บริษัทสามารถสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมได้โดยการใช้ทรัพยากรที่หมุนเวียน (Renewable) ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง (Waste) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลิตสินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse/Recycle)

Social (สังคม)

ESG Blog - Social

ตัวชี้วัดด้านสังคมจะมุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ของธุรกิจ เช่น นักลงทุน พนักงาน และชุมชนโดยรอบบริษัท ผลกระทบต่อสังคมของบริษัทควรช่วยรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำธุรกิจ

Governance (ธรรมาภิบาล)

ESG Blog - Governance

เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทดำเนินกิจการได้เป็นอย่างดีและมีคุณธรรม ปราศจากการคอร์รัปชั่นหรือส่งผลกระทบเชิงลบต่อภายนอกองค์กร ผู้บริหารได้มีการสับสนุนหรือกำหนดมาตรฐานการทำงานเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจหรือไม่ มีกระบวนการในการติดตามและตรวจสอบพาร์ทเนอร์หรือผู้ขายสินค้า (Supplier) ที่อาจจะละเมิดกฎข้อบังคับอย่างไร คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการประเมินด้านธรรมาภิบาลที่บริษัทจะต้องตอบคำถามเหล่านี้

ถึงแม้ว่าการประเมิน ESG จะหมายรวมถึงความยั่งยืน (Sustainability) ของการดำเนินธุรกิจ แต่ความยั่งยืนก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งใน ESG เท่านั้น

เกณฑ์ในการประเมิน ESG ครอบคลุมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบริษัทในหลากหลายหัวข้อ ซึ่งความยั่งยืนจะวัดจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลเสียต่ออนาคต ในทางทฤษฎีแล้วหากบริษัทพัฒนากิจการตามหลัก ESG อย่างต่อเนื่องแล้วนั้นย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและโลกตามมา

แล้ว ESG ส่งผลต่อแพคเกจจิ้งอย่างไร?

อุตสาหกรรมแพคเกจจิ้งนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ในบรรดาขยะพลาสติกทั้งหมดเกือบครึ่งหนึ่งมาจากแพคเกจจิ้งก็ว่าได้ และมีเพียง 5% จากขยะพลาสติกทั้งหมดที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ จึงเห็นได้ชัดว่าแพคเกจจิ้งพลาสติกนี่แหละที่เป็นตัวการสำคัญของมลภาวะพลาสติกที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน

การจำกัดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว (Single-use) ช่วยลดการบ่อนทำลายสิ่งแวดล้อมได้ ขณะที่บางคนสนับสนุนให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีขั้นสูงในการรีไซเคิลเพื่อทำให้พลาสติกเป็นวัสดุที่สามารถถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างแท้จริง แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้วมันไม่ง่ายอย่างนั้น แพคเกจจิ้งพลาสติกส่วนใหญ่ที่เราใช้กันเป็นรูปแบบที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ – แม้ในทางเทคนิคจะสามารถรีไซเคิลได้ แต่ในทางเศรษฐศาสตร์แล้วก็ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนนำมารีไซเคิล – ในขณะเดียวกันการใช้สารเคมีในการรีไซเคิลสามารถทำให้พลาสติกบางประเภทกลับไปเป็นน้ำมันได้ภายใต้อุณหภูมิที่สูง แต่กระบวนการเหล่านี้ล้วนปล่อยมลพิษแก่ชุมชนโดยรอบ

ดังนั้นในทางปฏิบัติ แพคเกจจิ้งกระดาษจึงถือเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลที่สุดที่จะมาทดแทนพลาสติกเพราะสามารถย่อยสลายได้และยังสามารถรีไซเคิลได้เป็นอย่างดี นับเป็นข้อดีสำหรับการใช้งานครั้งเดียว (Single-use) แต่เนื่องจากกระดาษเกรดเวอร์จิ้นนั้นผลิตมาจากต้นไม้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้แน่ใจว่ามาจากแหล่งผลิตที่มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน Ranpak จึงยืนยันว่ากระดาษทุกชนิดผลิตมาจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ที่ผ่านการการันตี Forest Stewardship Council (FSC)

บริษัทผู้ผลิตแพคเกจจิ้งต้องทำอย่างไรเพื่อพัฒนา ESG?

อีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในแพคเกจจิ้งก็คือเพิ่มการใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เข้าไป Ranpak ตั้งมั่นว่าในการผลิตกระดาษจะพยายามให้มีสัดส่วนกระดาษที่มาจากการรีไซเคิลแล้ว (Post-recycled) หรือมาจากวัสดุทดแทน เช่น หญ้า อย่างน้อย 25% ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนของกระดาษที่มาจากวัสดุที่รีไซเคิลได้แล้วนั้นแพคเกจจิ้งถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

การเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาผลิตแพคเกจจิ้งเป็นเพียงแค่หนึ่งส่วนประกอบของ ESG บริษัทควรต้องสนใจในเรื่อง Carbon Footprint การใช้ทรัพยากร และการใช้น้ำและไฟฟ้าในการดำเนินกิจการ รวมไปจนถึงการก้าวเข้าสู่การเป็นองค์กรที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และดำเนินกิจการอย่างโปร่งใส

รายงาน ESG นั้นต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง?

รายงาน ESG (ESG Report) เป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของ ESG โดยรายงานเหล่านี้มักถูกตีพิมพ์ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี ซึ่งหัวข้อตัวชี้วัดที่มักจะถูกระบุในรายงาน เช่น

Environment (สิ่งแวดล้อม)
• แหล่งที่มาของวัสดุในการผลิต
• การใช้น้ำ
• การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• การจัดการของเสีย รวมถึงสารเคมีอันตราย

Social (สังคม)
• ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
• ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน
• รายได้และสิทธิประโยชน์ของพนักงาน
• ความปลอดภัย

Governance (ธรรมาภิบาล)
• โครงสร้างการบริหาร
• จริยธรรม
• การบริหารความเสี่ยง

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *